Get Paid To Promote, Get Paid To Popup, Get Paid Display Banner -->

Monday, June 22, 2009

พายุทอร์นาโด {TORNADO}


พายุทอร์นาโด



พายุทอร์นาโด (tornado) หรือลมงวง เป็นพายุหมุนที่มีอำนาจในการทำลายล้างอย่างรุนแรงที่สุดในจำพวกปรากฏการณ์ธรรมชาติประเภทพายุ เกิดจากการหมุนเวียนของอากาศภายใต้ฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) หรือเมฆฟ้าคะนอง ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายภูเขา และเป็นเมฆที่แสดงถึงสภาวะอากาศที่ไม่ดีทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองก่อนเกิดพายุทอร์นาโด ฐานเมฆดังกล่าวจะย้อยตัวลงมาจนแลดูคล้ายงวงหรือรูปกรวย (funnel cloud) และเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นวงที่บิดเป็นเกลียวมี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 200–300 หลา ความเร็วลมที่ศูนย์กลางประมาณ 100–300 ไมล์ต่อชั่วโมง พายุหมุนนี้จะเคลื่อนที่ไปในทางเดียวกับเมฆเบื้องบน โดยมีความเร็วประมาณ 20–40 ไมล์ต่อชั่วโมง





ออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายจากพายุทอร์นาโดมากที่สุด โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกานั้น ในปีหนึ่งๆ จะเกิดพายุทอร์นาโด โดยเฉลี่ยถึง 770 ครั้ง และมักจะเกิดในบริเวณที่ราบเท็กซัส แพนแฮนเดิล เฉียงขึ้นไปทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐโอกลาโฮมา แคนซัส มิสซูรี เนบราสกา ทางตอนใต้ของรัฐอิลลินอยส์ และสิ้นสุดทางตอนเหนือของรัฐไอโอว่า บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุหมุนทอร์นาโด ขึ้นประจำในระหว่างเดือนมีนาคม–มิถุนายน จนได้ชื่อว่าเป็น “ช่องทางทอร์นาโด” (Tornado Alley)







พายุทอร์นาโดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยแทบจะไม่มีสัญญาณเตือนอันตรายล่วงหน้า โดยปกติจะเกิดขึ้นใน ช่วงเวลาสั้นเพียง 15–20 นาที แต่สร้างความเสียหายใหญ่หลวงทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน นักอุตุนิยมวิทยาในสหรัฐอเมริการจึงให้ความสนใจในการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถระบุการเกิดพายุทอร์นาโดได้อย่าง แน่นอนชัดเจน แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดบอกได้ นอกจากอาศัยการ คาดการณ์เท่านั้น นักอุตุนิยมวิยาได้ให้ข้อสังเกตว่าเกือบทุกครั้งที่จะมี พายุทอร์นาโดเกิดขึ้น มักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ติดตามด้วย ลูกเห็บก้อนโตๆ ตกลงมา อย่างไรก็ตาม การมีลูกเห็บตกในขณะเกิดพายุ ฟ้าคะนองนั้น ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนว่าจะต้องเกิดพายุทอร์นาโดเสมอไป แต่ที่แน่นอนก็คือเมื่อใดที่เกิดมีพายุฟ้าคะนอง และมีลูกเห็บตกลงมาด้วย นั่นคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าพายุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นพายุที่มีความรุนแรง




สาเหตุการเกิดพายุทอร์นาโด


การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศชั้นบน อันเป็นสาเหตุให้เกิด พายุทอร์นาโดนั้น เนื่องมาจาก
1. การควบแน่นของไอน้ำจากอากาศเบื้องล่าง ทำให้อากาศที่ ลอยตัวอยู่อุ่นขึ้น เมื่อกระทบกับอากาศเย็นข้างบน ก็จะเกิดเมฆและมี ความชื้นเพิ่มขึ้น อากาศร้อนเบื้องล่างจึงหนุนเนื่องดันทะลุชั้นอากาศเย็นข้างบนออกไปโดยฉับพลัน
2. การคายความร้อนของพื้นดิน เมื่อพื้นดินคายความร้อนที่ ได้รับจากแสงอาทิตย์มาตลอดทั้งวัน อากาศร้อนชื้นเบื้องล่างจะดูดซับ ความร้อนนั้น ทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นฝ่าอากาศเย็นชั้นบนขึ้นไปได้ พายุหมุนทอร์นาโดประเภทนี้ มักเกิดในช่วงเวลา 6 โมงเย็น จึงเรียกว่าอาถรรพณ์ 6 โมงเย็น (six o’clock magic)3. การเปลี่ยนแปลงของความเร็วลมในทิศทางและที่ระยะความสูงต่างๆ (windshear) ความแตกต่างของความเร็วลม และทิศทางที่ระยะ ความสูงระดับบนและระดับล่าง จะทำให้เกิดกลุ่มอากาศห่อหุ้มศูนย์กลาง การหมุนของพายุและทำให้อากาศบิดหมุนในลักษณะกรวยแคบๆ ตามแนวนอน ตัดผ่านพายุไปตามระหว่างชั้นของอากาศ ส่วนอากาศที่อยู่ข้างบนก็จะหมุนวนเข้าไปในพายุ เมื่อกระแทกกับกรวยอากาศหมุนเหล่านี้ ก็จะเบี่ยงเบนทิศทางส่ายขึ้นสู่เบื้องบน





การเเบ่งทอร์นาโดตามกำลังลม


ทอร์นาโดแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด
และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

การจำแนกระดับของทอ์นาโด จะยึดตาม Fujita scale ซึ่งกำหนดให้พายุในแต่ละระดับมีความแรงดังนี้
พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


จากการสำรวจเก็บสถิติ พบว่า ทุกๆ การเกิดพายุทอร์นาโด 1,000 ครั้ง จะเป็นระดับ F0 จำนวนประมาณ 389 ครั้ง , ระดับ F1 จำนวนประมาณ 356 ครั้ง , ระดับ F2 จำนวนประมาณ 194 ครั้ง , ระดับ F3 จำนวนประมาณ 49 ครั้ง , ระดับ F4 จำนวนประมาณ 11 ครั้ง และระดับ F5 จำนวนประมาณ 1 ครั้ง
ความแรงของพายุ ส่งผลกับขนาด และการสลายตัวของพายุด้วย พายุระดับ F0-F1 อาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 100 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ไม่กี่กิโลเมตรก็สลายตัวไป ในขณะที่พายุ F5 อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า 1,600 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตรก่อนจะสลายตัว ซึ่งการที่พายุที่ระดับสูงกว่าจะทำให้พายุมีขนาดใหญ่และสลายตัวช้าด้วย







ที่มา:



http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=88&i2=32

http://seedang.com/stories/23838 (รูป)

board.palungjit.com/f178/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E...(รูป)

http://www.nstlearning.com/~km/wp-content/uploads/2008/03/lighting-and-tornado-storm.jpg(รูป)

No comments:

Post a Comment