ประวัติธงชาติไทย
ธงชาติไทยจะมีตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานเชื่อกันได้ว่าน่าจะเกิดขึ้น ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุของฝรั่งเศลกล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2223 เรือรบของฝรั่งเศสชื่อ เลอรโวตูร์ มีมองซิเออร์ คอนูแอน เป็นนายเรือ ได้นำเรือเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรีและการค้า นายเรือได้สอบถามทางกรุงศรีอยุธยา ถ้าจะยิงสลุตให้แก่ชาติไทย เมื่อเรือผ่านป้อมวิไชเยนทร์ (ปัจจุบันคือป้อมวิชัยสิทธิ์) ตามประเพณีของชาวยุโรป จะขัดข้องหรือไม่สมเด็จพระนารายณ์ทรงอนุญาต และรับสั่งให้เจ้าเมืองบางกอก คือ ออกพระศักดิ์สงคราม ให้ทางป้อมยิง สลุตตอบด้วย ในการที่เรือรบฝรั่งเศลจะยิงสลุตให้นั้น ทางป้อมจะชักธงชาติขึ้น แต่เวลานั้นธงชาติไทยยังไม่มี จึงชักธงชาติฮอลันดาขึ้นแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมยิงสลุต เพราะเห็นว่าไม่ใช่ธงประจำชาติไทย และแจ้งให้ทราบว่า หากไทยประสงค์จะให้ฝรั่งเศสยิงสลุตให้เอาธงฮอลันดาลง แล้วชักธงอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นแทน เผอิญในสมัยนั้นผ้าแดงเป็นผ้าที่หาได้ง่ายกว่าผ้าอื่น ไทยจึงทำธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วชักขึ้น ฝรั่งเศสจึงยิงสลุตให้นับตั้งแต่นั้นมาไทยก็ถือเอาธงสีแดงเป็นธงชาติไทย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชดำริว่า เรือราษฎรควรจะมีเครื่องหมายสำคัญให้เห็นแตกต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการเหนือกล้าฯ สั่งให้บรรดาเรือหลวงทำรูปจักรอันเปนามสัญญาพระบรมราชวงศ์ไว้กลางธงพื้นแดง เป็นเครื่องหมายสำหรับเรือหลวง
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สร้างเรือกำปั่นหลวง 2 ลำ สำหรับการค้าของรัฐบาล ระหว่างกรุงเทพฯ กับสิงคโปร์และมาเก๊า เรือสองลำนี้ชักธงแดงเป็นสัญลักษณ์ เจ้าเมืองสิงคโปร์ซึ่งเป็นชาวอังกฤษบอกให้นายเรือเข้ามากราบทูลว่า เรือของชวาและมลายูก็ชักธงแดงเหมือนกัน ขอให้เปลี่ยนไปใช้ธงอย่างอื่น ประกอบกับในรัชสมัยของพระองค์ได้ช้างเผือกถึง 3 เชือก นับเป็นปรากฏการณ์พิเศษจึง โปรดฯ ให้ทำรูปช้างเผือกลงไว้กลาง วงจักรในเรือหลวงด้วย ส่วนเรือพ่อค้าอื่น ยังคงใช้ธงแดงตามเดิม
ครั้นถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2398 ทรงดำริถึงการใช้ธงแดงว่าไม่เป็นการสมควรให้มีธงเหมือนอย่างเรือหลวง แต่รูปจักรเป็นของสูงไม่สมควรใช้ทั่วไป จึงโปรดฯ ให้ยกรูปจักรออกเสียเหลือแต่รูปช้างเผือกบนพื้นแดง และโปรดฯ ให้ทำธงสำหรับพระองค์ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง พื้นนอกสีแดง พื้นในสีขาบ กลางมีมหาพิชัยมงกุฎ และเครื่องสูง 7 ชั้นสองข้าง สำหรับชักขึ้นบนเสาเรือพระที่นั่ง และใช้ชักบนเสาในพระบรมมหาราชวังด้วย
จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ลงวันที่ 25 มีนาคม ร.ศ.110 (พ.ศ.2434) กำหนดธงต่าง ๆ ถึง 13 ชนิด นับเป็นพระราชบัญญัติธงฉบับแรกของประเทศไทย ในพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดธงชาติไทยไว้เป็นที่แน่นอน เรียกว่า "ธงชาติสยาม" มีลักษณะเป็นรูปธงช้างเผือก พื้นสีแดง ใช้สำหรับเรือกำปั่นและเรือทั้งหลายของพ่อค้าทั่วไป ส่วนเรือหลวงใช้ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น ที่มุมธงข้างบนมีจักรสำหรับชักท้ายเรือพระที่นั่ง
ใน พ.ศ.๒๔๖๐ ได้มีการแก้ไขลักษณะธงชาติอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากขณะนั้น ประเทศไทยได้ประกาศตนเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อรบกับเยอรมันนี ออสเตรีย และฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า การประกาศสงครามครั้งนี้ นับเป็นความเจริญก้าวหน้าขั้นหนึ่งของประเทศ สมควรจะมีสิ่งเตือนใจสำหรับวาระนี้ไว้ในภายหน้า สิ่งนั้นควรได้แก่ธงชาติ ทรงเห็นว่าลักษณะที่ได้แก้ไขไปแล้วใน พ.ศ.๒๔๕๙ นั้น ยังไม่สง่างามเพียงพอ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มแถบสีน้ำเงินขึ้นอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของนานาประเทศที่ใช้กันอยู่โดยมากในขณะนั้น เพื่อให้เป็นเครื่องหมายว่าประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อต่อต้านปราบปรามฝ่ายอธรรม อีกประการหนึ่ง สีน้ำเงินก็เป็นสีประจำพระชนมวารเฉพาะของพระองค์ด้วย จึงเป็นสีที่สมควรจะประกอบไว้ในธงชาติไทยด้วยประการทั้งปวง
ต่อมาโปรดให้ตราพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก 116 และพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก 129 ได้กำหนดธงไว้ถึง 20 ชนิด ธงชาติยังคงมีลักษณะเดิม ธงชาติดังกล่าวนี้ใช้เรื่อยมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโดยเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร คือ ยุโรป อเมริกา และเอเชีย ประกาศสงครามกับเยอรมนี ออสเตรียและฮังการี รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่าประเทศไทย ได้ก้าวขึ้นสู่ความเจริญสมควรมีอภิลักขิตวัตถุ เพื่อเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงสมัยนี้ จึงทรงพระราชดำริว่า ธงสำหรับชาติสยามที่มียังไม่เป็นสง่างามพอสำหรับประเทศ สมควรเพิ่ม สีน้ำเงินอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตร คือ ยุโรป อเมริกา และเอเชีย ประเทศสงครามกับเยอรมนี ออสเตรียและฮังการี เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าประเทศสยามได้เข้าร่วมทุกข์ร่วมสุข เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ ช่วยกันปราบปราม ประกอบกับสีน้ำเงินเป็นสีอันเป็นสิริแก่พระชนวาร นับว่าเป็นสีเครื่องหมายเฉพาะพระองค์ด้วย จึงเป็นสีที่สมควรประกอบไว้ในธงชาติด้วย จึงทรงตราพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2460 เรียกว่า ธงชาติสยาม มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 3 ของขนาดกว้าง แห่งธงอยู่ตรงกลาง มีแถบขาวกว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 6 ของขนาดกว้างแห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่ากับสีขาว ประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ ธงชาติสยามอย่างนี้ให้เรียกว่า "ธงไตรรงค์" และถึงแม้จะมี พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2479 แก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติธงอีก แต่ธงชาติ ก็มีลักษณะเหมือนกับธงไตรรงค์เพียงแต่ใช้คำพูดให้รัดกุมยิ่งขึ้นว่า"ธงชาติ รูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้าง 2 ใน 6 ส่วน ตรงกลางเป็นสีขาบ (สีขาบ คือ สีน้ำเงินเข้มอมม่วง) ต่อจากสีขาบออกไปทั้งสองข้างข้างละ 1 ใน 6 ส่วน เป็นแถบสีขาว ต่อจากสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้าง เป็นสีแดง ธงชาตินี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์"
เเหล่งที่มา
No comments:
Post a Comment