Get Paid To Promote, Get Paid To Popup, Get Paid Display Banner -->

Friday, July 8, 2011

ประเพณีเข้าพรรษา


ความหมายของวันเข้าพรรษา
ภาพ:773.jpg

    วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา
   1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษา 3 เดืิอนแรกแห่งฤดูฝน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในปีปกติและอธิกวาร .ส่วนในปี อธิกมาสจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 88 หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม
   2. ปัจฉิมพรรษา คือ การอนุโลมเข้าพรรษาอีกอย่างหนึ่งตามพระวินัยสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มีเหตุจำพรรษาไม่ทัน เป็นต้น โดยนับเอา 3 เดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน เรียกว่าเข้าพรรษาหลัง คือ มีวันเข้าพรรษาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 หรือราวเดือนสิงหาคมและจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ อันเป็นสิ้นสุดฤดูฝน หรือราวเดือนพฤศจิกายน. การจำพรรษาหลังนี้ ทางประเพณีไม่เป็นที่นิยม.

 ประวัติความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

ภาพ:Kaopansa1.gif
    
     "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้         โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์        
       การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

 ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา

ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนมีประเพณีสำคัญ ดังนี้

ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา

ภาพ:Kao02.jpg
    
       ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูปเทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสวตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

 ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ภาพ:9990.jpg
    
       เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ความชุ่มชื้น บนเชิงเขาสุวรรณบรรพต จรดเทือกเขาวงใกล้รอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นจุดเริ่มต้นความสวยงาม ของมวลหมู่พันธุ์ไม้ หลากสีสัน เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงวันเข้าพรรษาของทุกปี ดอกไม้ชนิดหนึ่ง จะบานสะพรั่งขาวนวลบริสุทธิ์ ท่ามกลางความเหลืองอร่ามปะปนสีม่วง แลดูสบายตาเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพตและเทือกเขาวง ชาวบ้าน เรียกดอกไม้ชนิดนี้ ว่า "ดอกเข้าพรรษา" ซึ่งเป็นสื่อกลางระหว่าง พุทธศาสนิกชนเพื่อส่งพุทธบูชา ศรัทธา แก่พระพุทธองค์ผ่านประเพณีตักบาตรดอกไม้ เนื่องในวันเข้าพรรษา ประเพณีตักบาตรดอกไม้ของชาวพุทธจะถือเอาวันเข้าพรรษาของทุกปี (ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) เป็นวันตักบาตรดอกไม้ พุทธศาสนิกชน ทุกเพศ ทุกวัย จากทั่วประเทศ เข้าร่วมงานประเพณี "ตักบาตรดอกไม้" ด้วยความศรัทธา และร่วมสืบสานอีกหนึ่งวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของคนไทย
ภาพ:Flower2.gif
    
     "ดอกเข้าพรรษา" เป็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายๆ ต้นกระชาย หรือ ขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศา ส่วนสีสันของดอกไม้เข้าพรรษานี้ บางต้นก็ผลิดอกสีเหลือง บางต้นก็สีขาว และบางต้นก็สีน้ำเงินม่วง ซึ่งหาได้ยาก ถือกันว่าถ้าใครออกไปเก็บดอกไม้เข้าพรรษาสีม่วงมาใส่บาตรได้ คนนั้นจะได้รับบุญกุศลมามายกว่าการนำดอกไม้สีอื่นๆ มาใส่บาตร ต้นดอกไม้เข้าพรรษานี้จะขึ้นตาม ไหล่เขาโพธิ์ลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวงและ เขาพุใกล้ๆ กับพระพุทธบาทที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่ง สำหรับต้นดอกไม้ชนิดนี้ก็คือการผลิดอก ถ้ามิใช่ฤดูกาลเริ่มเข้าพรรษา เช่น หน้าร้อน หน้าหนาว อย่างนี้ ต้นเข้าพรรษา จะไม่ผลิดอกออกมาให้เห็น จนชาวบ้านขนานนามให้เป็นที่เหมาะสมว่า "ต้นเข้าพรรษา"  กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
1. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา 2. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
3. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 4. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

No comments:

Post a Comment